"คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหาได้ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์อื่นๆ"
เป้าหมายการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา
เป้าหมายการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา
- เข้าใจเนื้อหาที่เป็นพื้นฐาน เพื่อเรียนรู้วิชาอื่น เช่น
วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ พันธุกรรมศาสตร์ อย่างเช่น ความน่าจะเป็นมาใช้ในการวิเคราะห์ศึกษาพันธุกรรมของเมล็ดถั่ว ในทางชีววิทยาใช้เลขยกกาลังในการกำหนดหน่วยความยาวของดีเอ็นเอ (DNA) อัตราส่วนและยกกาลังไปใช้ในการหาดัชนี มวลกายของคน เพื่อวิเคราะห์และศึกษาภาวการณ์สะสมไขมันตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย การแปรเปลี่ยนของอุณหภูมิ แผนที่ทางอากาศบอกช่วงเวลา
เศรษฐศาสตร์ อย่างเช่น วิธีการอ่านกราฟและฟังก์ชัน การหาดุลยภาพและการเปลี่ยนแปลงดุลยภาพของตลาด เรียนรู้วิธีการตัดสินใจที่เหมาะสมที่สุดของผู้บริโภคและผู้ผลิต
การงานอาชีพ ศิลปะ อย่างเช่น อัตราส่วนการปรุงอาหาร การประกอบอาชีพ การออกแบบ การใช้เทคโนโลยี การสื่อสาร การเขียนโปรแกรมฯ การประมาณขนาดรูปร่างในการวาดภาพ มองโครงสร้างโมเดลจำลองในการสร้างประติมากรรม การเปรียบเทียบขนาดรูปร่างทางเรขาคณิต(พื้นที่ / ปริมาตร)
สังคม ประวัติศาสตร์ อย่างเช่น การบอกเวลา ระยะทาง บอกค่าเงิน(การแปลงค่าเงิน / การซื้อขายแลกเปลี่ยน) การคำนวณปีจากอดีต-ปัจจุบัน(พ.ศ. / ค.ศ.) ลักษณะทางภูมิศาสตร์ การออกแบบภูมิปัญญา(ปัญญาประดิษฐ์) การคำนวณความกว้างของแม่น้ำ การสร้างที่อยู่อาศัย ฤดูกาล
สุขศึกษา พลศึกษา อย่างเช่น การคำนวณค่าดัชนีมวลร่างกาย(BMI) การบอกค่าพลังงานจากสารอาหาร การวัดขนาดร่างกาย (น้ำหนัก / ส่วนสูง) การนับการเต้นของหัวใจ
- พัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ การแก้ปัญหา การมองเห็นรูปแบบ (Pattern) การสร้างภาพในสมอง การให้เหตุผล การสื่อสาร เชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาด้วยวิธีที่หลากหลาย
เศรษฐศาสตร์ อย่างเช่น วิธีการอ่านกราฟและฟังก์ชัน การหาดุลยภาพและการเปลี่ยนแปลงดุลยภาพของตลาด เรียนรู้วิธีการตัดสินใจที่เหมาะสมที่สุดของผู้บริโภคและผู้ผลิต
การงานอาชีพ ศิลปะ อย่างเช่น อัตราส่วนการปรุงอาหาร การประกอบอาชีพ การออกแบบ การใช้เทคโนโลยี การสื่อสาร การเขียนโปรแกรมฯ การประมาณขนาดรูปร่างในการวาดภาพ มองโครงสร้างโมเดลจำลองในการสร้างประติมากรรม การเปรียบเทียบขนาดรูปร่างทางเรขาคณิต(พื้นที่ / ปริมาตร)
สังคม ประวัติศาสตร์ อย่างเช่น การบอกเวลา ระยะทาง บอกค่าเงิน(การแปลงค่าเงิน / การซื้อขายแลกเปลี่ยน) การคำนวณปีจากอดีต-ปัจจุบัน(พ.ศ. / ค.ศ.) ลักษณะทางภูมิศาสตร์ การออกแบบภูมิปัญญา(ปัญญาประดิษฐ์) การคำนวณความกว้างของแม่น้ำ การสร้างที่อยู่อาศัย ฤดูกาล
สุขศึกษา พลศึกษา อย่างเช่น การคำนวณค่าดัชนีมวลร่างกาย(BMI) การบอกค่าพลังงานจากสารอาหาร การวัดขนาดร่างกาย (น้ำหนัก / ส่วนสูง) การนับการเต้นของหัวใจ
- พัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ การแก้ปัญหา การมองเห็นรูปแบบ (Pattern) การสร้างภาพในสมอง การให้เหตุผล การสื่อสาร เชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาด้วยวิธีที่หลากหลาย
- ครู
หน่วย : Math 1
ภูมิหลัง: เด็กส่วนใหญ่จะเริ่มใช้สมองซีกซ้ายอย่างเต็มที่ในช่วงประมาณ
10 ขวบ หรือประมาณ ป.4และเป็นที่ทราบกันดีว่าการคิด เหตุผล
การวิเคราะห์ ภาษา การเขียน การคำนวณ ฯลฯ และ การเคลื่อนไหวต่าง ๆ
เราจะรับรู้เรื่องเหล่านี้ได้จากการทำงานของสมองซีกซ้าย ส่วนสมองซีกขวาจะมีหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องจินตนาการ
ดนตรี ศิลปะฯลฯซึ่งหากได้รับการเรียนรู้และเตรียมความพร้อมทางด้านคณิตศาสตร์ที่เหมาะสม
เน้นการเรียนรู้ร่วมกัน ใช้สื่อจริง จะทำให้เด็กเกิดความรู้
ความเข้าใจ และเกิดวิสัยทัศน์ทางคณิตศาสตร์ ฝึกการสังเกต
จัดประเภทจำแนกหมวดหมู่ของสิ่งต่างๆ
ที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันเพื่อให้เป็นผู้มีเหตุผล เกิดความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งสามารถช่วยให้พัฒนาทางด้านสมองทั้ง 2 ซีกของเด็กๆได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้คณิตศาสตร์มีส่วนช่วยสร้างคุณลักษณะพิเศษให้เกิดขึ้นในตัวบุคคล คือ ทำให้เป็นคนช่างสังเกตคิดอย่างมีเหตุผล แสดงออกมาอย่างมีระบบและเป็นระเบียบ สามารถวิเคราะห์ปัญญาต่างๆ ได้ดีตลอดจนมีความคิดสร้างสรรค์ซึ่งทำให้เกิดประโยชน์ในการนำไปใช้แก้ปัญญาหาในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้คณิตศาสตร์มีส่วนช่วยสร้างคุณลักษณะพิเศษให้เกิดขึ้นในตัวบุคคล คือ ทำให้เป็นคนช่างสังเกตคิดอย่างมีเหตุผล แสดงออกมาอย่างมีระบบและเป็นระเบียบ สามารถวิเคราะห์ปัญญาต่างๆ ได้ดีตลอดจนมีความคิดสร้างสรรค์ซึ่งทำให้เกิดประโยชน์ในการนำไปใช้แก้ปัญญาหาในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เป้าหมายความเข้าใจ :
เข้าใจเกี่ยวกับเศษส่วน จำนวนคละ และทศนิยม
เกิดความรู้สึกเชิงจำนวนสามารถหาวิธีการคิดที่เหมาะสมกับตนเอง เห็นความสัมพันธ์ของการบวก
การลบ การคูณและการหารเศษส่วน และยังเห็น
ความสัมพันธ์ของที่มาของจำนวนเกิน
และทศนิยมโดยการเชื่อมโยงเข้ากับเศษส่วนอีกทั้งสามารถ
แก้ปัญหาและให้เหตุผลเกี่ยวกับกระบวนการคิด และสิ่งต่างๆ
ที่อยู่รอบตัวอย่างสมเหตุสมผล
แล้วนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันของตนเองได้
สาระการเรียนรู้ Quarter 1/2559
|
มาตรฐานตัวชี้วัด
|
ทักษะ
|
คุณลักษณะ
|
สาระ : จำนวนและการดำเนินการ
- เขียนและอ่านตัวเลขฮินดูอารบิกตัวเลขไทย และตัวหนังสือแสดงจำนวนนับ ศูนย์ เศษส่วน และทศนิยมหนึ่งตำแหน่ง
- เปรียบเทียบและเรียงลำดับจำนวนนับและศูนย์ เศษส่วน และทศนิยมหนึ่งตำแหน่ง
- บวกและลบเศษส่วนที่มีตัวส่วนเท่ากัน
|
มาตรฐาน ค 1.1:
เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
ป.4/1 เขียนและอ่านตัวเลขฮินดูอารบิกตัวเลขไทย และตัวหนังสือแสดงจำนวนนับ
ศูนย์ เศษส่วน และทศนิยมหนึ่งตำแหน่ง
ป.4/2 เปรียบเทียบและเรียงลำดับจำนวนนับและศูนย์ เศษส่วน
และทศนิยมหนึ่งตำแหน่ง
มาตรฐาน ค 1.2:
เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการต่าง
ๆ และใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา
ป.4/1 บวก ลบ คูณ
หาร และบวก ลบ คูณ หารระคนของจำนวนนับและศูนย์ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบ
ป.4/2 วิเคราะห์และแสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาและโจทย์ปัญหาระคนของจำนวนนับและศูนย์
พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบ และ
สร้างโจทย์ได้
|
- การแก้ปัญหา
- การมองเห็นภาพ
- การสื่อสาร
-ทำงานร่วมกับผู้อื่น
- ทักษะการประมาณค่า
- ทักษะการจัดการข้อมูล
- ทักษะการคิด
|
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- มีความพยายามและเห็นเป้าหมายในการทำงาน
ลงมือปฏิบัติงานเพื่อเรียนรู้แก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้
- มีความอดทนและสามารถทำงานที่สนใจ
และงานที่รับมอบหมายจนสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการเชื่อมโยงไปสู่สาระอื่นหรือองค์ความรู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ
กระตือรือร้นในการทำงานเมื่อเกิดปัญหาแล้วหาแนวทางในการแก้ไขและพัฒนา
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
ปฏิทินการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์
ระดับชั้น ป.4 Quarter 1 ปีการศึกษา 2559
Quarter
|
สัปดาห์
|
สาระ/เนื้อหา
|
จำนวนชั่วโมงเรียน
|
1
|
1
|
ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
|
5
|
- สร้างข้อตกลงร่วมกัน
|
|||
- สรุปความเข้าใจก่อนเรียน
|
|||
2
|
จำนวนและการดำเนินการ
|
5
|
|
- เกมการคิด
|
|||
- ความหลากหลายของการแสดงจำนวน
|
|||
- จำแนกชนิดของจำนวนตามมาตรการวัด
(Nominal Scale, Ordinal Scales, Interval Scale,Ratio Scale) |
|||
- นำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่เข้าใจง่าย
|
|||
3
|
จำนวนและการดำเนินการ
|
5
|
|
- การแบ่งเป็นส่วนๆละเท่าๆกัน
(สื่อจริงหาง่ายใกล้ตัว)
|
|||
- การวาดภาพแทนเศษส่วนที่แบ่งจริง
|
|||
- เปรียบเทียบเศษส่วนและเรียงลำดับเศษส่วน
|
|||
- การบวกเศษส่วนด้วยเศษส่วนที่เท่ากัน
|
|||
- การลบเศษส่วนด้วยเศษส่วนที่เท่ากัน
|
|||
4
|
- การคูณเศษส่วนด้วยจำนวนเต็ม
|
5
|
|
5
|
- การหารเศษส่วนด้วยจำนวนเต็ม
|
5
|
|
6
|
- เศษส่วนกับจำนวนคละ
|
5
|
|
- เศษส่วนกับทศนิยม
|
|||
- การเปรียบเทียบเศษส่วน จำนวนคละ
และ ทศนิยม
|
5
|
||
7-8
|
- การบวกเศษส่วน จำนวนคละ และ
ทศนิยม
|
10
|
|
- การลบเศษส่วน จำนวนคละ และ
ทศนิยม
|
|||
- การคูณเศษส่วน จำนวนคละ และ
ทศนิยม
|
|||
- การหารเศษส่วน จำนวนคละ และ
ทศนิยม
|
|||
9
|
โจทย์ปัญหาระคน (เศษส่วน จำนวนเกิน และทศนิยม)
|
5
|
|
10
|
ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
|
5
|
|
ทบทวนและสรุปองค์ความรู้
|